ยินดีต้อนรับ

วันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2556

สรุปโทรทัศน์ครู

สรุปโทรทัศน์ครู เรื่อง : สอนวิทย์คิดสนุกกับเด็กปฐมวัย
การนำเสนอสื่อการทดลองวิทยาศาสตร์ของ คุณครูกรรณิการ์ เฉิน เพื่อเป็นเทคนิคในการพัฒนาการของเด็กปฐมวัยโดยใช้วัสดุรอบตัว โดยใช้น้ำตาลก้อนหยดสีลงไปแล้วดูการเปลี่ยนแปลง, การใช้กระดาษทิชชูอธิบายความลับของสีดำซึ่งมีสีอื่นๆ ซ่อนอยู่มากมาย หรือการอธิบายเรื่องแรงตึงของผิวน้ำโดยใช้อุปกรณ์ง่ายๆ ที่อยู่รอบตัวในการอธิบายให้เห็นภาพ และเข้าใจได้ง่ายๆ

กิจกรรมของ คุณครูกรรณิการ์ เฉิน เป็นการทดลองวิทยาศาสตร์ สำหรับเด็ก ๆ ที่ดีมาก เป็นการฝึกทักษะการคิดทางวิทยาศาสตร์ ที่ให้เด็ก ๆ ได้ฝึกหาเหตุผลสนับสนุนจากการคิดของเขา และเป็นกิจกรรมที่ง่าย ไม่ยุ่งยากในการเตรียมอุปกรณ์

สรุปบทความ

บทความเรื่อง : การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัย
โดย  มิสวัลลภา  ขุมหิรัญ
หลักการและความสำคัญ
               วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตประจำวันของมนุษย์ ตลอดชีวิตของทุกคนต่างก็มีความเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ทั้งสิ้น  การเรียนรู้วิทยาศาสตร์จึงมีความสำคัญที่จะทำให้คนได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะที่สำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ สามารถตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลที่หลากหลายและ มีประจักษพยานที่ตรวจสอบได้ ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์ขึ้น รวมถึงการนำความรู้ไปใช้อย่างสร้างสรรค์ มีเหตุผล มีคุณธรรม นอกจากนี้ยังช่วยให้คนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์ การดูแลรักษาตลอดจนการพัฒนาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลและยั่งยืน
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ควรเน้นให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางเปิดโอกาสให้เด็กมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมมีประสบการณ์ตรง ได้ลงมือปฏิบัติจริงโดยมีครูเป็นผู้ตอบสนองความสนในของเด็กและส่งเสริมการจัดโครงสร้างความคิดจากประสบการณ์ เพื่อพัฒนามุมมองและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ รวมถึงการส่งเสริมทัศนคติเกี่ยวกับการดูแลและมีความรับผิดชอบที่รักษาสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวอย่างเหมาะสมตามวัย
อย่างไรก็ตาม การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยยังไม่ได้รับการส่งเสริมให้แพร่หลายอาจเนื่องด้วยการศึกษาปฐมวัยมิได้เป็นการศึกษาภาคบังคับและในหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยได้กำหนดกรอบสาระของหลักสูตรไว้กว้างๆทำให้สาระของการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ไม่มีความชัดเจน สสวท.จึงร่วมกับกลุ่มนักวิชาการ พัฒนากรอบมาตรฐานการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยขึ้นเพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่สอดคล้องกับหลักสูตรปฐมวัย พุทธศักราช 2546 และอยู่บนพื้นฐานของมาตรฐานการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มสาระวิทยาศาสตร์ หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2544 โดยมีหลักในการเลือกเนื้อหา 3 ประการดังนี้
1.ขอบเขตเนื้อหาวิทยาศาสตร์
2.ความเหมาะสมต่อพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ของเด็ก
3.สามารถนำไปปฏิบัติจริงได้
ทั้งนี้มีจุดมุ่งหมายให้ครูผู้สอนได้นำไปจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาความรู้ รวมถึงการพัฒนากระบวนการคิด กระบวนการสืบเสาะหาความรู้ กระบวนการแก้ปัญหา ตลอดจนมีจิตวิทยาศาสตร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยและเป็นการเตรียมพร้อมสำหรับการศึกษาในระดับต่อไป
เป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์คือ
1.แสดงความตระหนักรู้เกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่มนุษย์สร้างขึ้นผ่านการลงมือปฏิบัติ การสำรวจ การสังเกต การตั้งคำถาม และการแลกเปลี่ยนสิ่งที่ค้นพบ
2.ดำเนินการสืบเสาะหาความรู้อย่างๆด้วยตนเอง อย่างเสรีและตามแยยที่กำหนดให้
3.แสดงความเข้าใจและรู้จักดูแลรักษาธรรมชาติ
4.สืบค้นและสนทนาเกี่ยวกับลักษณะและองค์ประกอบของสิ่งต่างและใช้สิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย
5.รู้และสามารถใช้สิ่งของที่เป็นเทคโนโลยีอย่างง่ายๆได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย
6.เพื่อให้มีจิตวิทยาศาสตร์ มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างสร้างสรรค์
บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย
1.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาความตระหนักรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นในโลกรอบตัว  เด็กจะได้รับการส่งเสริมและตอบสนองต่อคำถามที่เกิดขึ้นระหว่างการสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัวของตนเองอย่างเหมาะสม
2.การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้พัฒนาคุณลักษณะตามวัยที่สำคัญ 4 ด้านได้แก่ ด้านร่างกาย การจัดกิจกรรมให้เด็กได้สำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เด็กได้ใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าและใช้อุปกรณ์สำรวจอย่างง่าย ซึ่งเป็นการพัฒนากล้ามเนื้อใหญ่และกล้ามเนื้อเล็ก  ด้านอารมณ์และจิตใจ การจัดกิจกรรมสำรวจและทดลอง เด็กได้รู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง รู้จักใช้เหตุผล กล้าตัดสินใจ ได้แสดงผลงานและความสามารถจากการสำรวจด้านสังคม เด็กได้ฝึกการช่วยเหลือตนเองในการทำกิจกรรม รู้จักทำงานร่วมกับเพื่อน รู้จักการให้และการรับ ฝึกการปฏิบัติตามกฎระเบียบหรือข้อตกลงร่วมกัน และเห็นคุณค่าของสิ่งแวดล้อมรอบตัวและช่วยกันดูและรักษา ด้านสติปัญญา เด็กได้พัฒนาความสามารถในการถามคำถามเชิงวิทยาศาสตร์ การค้นหาคำตอบด้วยวิธีการต่างที่เหมาะสมกับวัย ได้บอกลักษณะของสิ่งที่สำรวจพบด้วยคำพูด การวาดภาพ ได้เรียนรู้ใหม่และบอกวิธีการเรียนรู้ของตนเอง
3.การเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย ช่วยให้เด็กได้มีโอกาสใช้จิตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ในการออกแบบและสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ตลอดจนคิดวิธีการแก้ปัญหาต่างๆตามวัยและศักยภาพผ่านทางการเล่นทางวิทยาศาสตร์
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัยควรส่งเสริมด้านต่างๆดังนี้
1.สนับสนุนและส่งเสริมความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก
2.สนับสนุนและส่งเสริมความต้องการในการตั้งคำถาม
3.ส่งเสริมการใช้ประสาทสัมผัสในการเรียนรู้ สำรวจ ตรวจสอบ จำแนกสิ่งต่างๆ
4.ส่งเสริมกระบวนการคิด
5.ส่งเสริมจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์
6.ส่งเสริมความสนใจในการดูแลและรับผิดชอบต่อสิ่งต่างๆที่อยู่รอบตัว
7.เปิดโอกาสให้เด็กได้แสดงความรู้สึกชื่นชมยินดีในธรรมชาติ การพัฒนาแนวคิดทางวิทยาศาสตร์สามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยวิธีการที่หลากหลายที่เกี่ยวข้องกับการตั้งคำถาม การทดลอง การสังเกตและการหาข้อสรุปซึ่งเป็นวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการแก้ปัญหา ในการจัดกระบวนการเรียนรู้ระดับปฐมวัย ควรให้เด็กได้ตระหนักถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ต่อไปนี้
1.เราต้องการค้นหาอะไร
2.เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อการค้นหานี้
3.เราเห็นอะไรเกิดขึ้นบ้าง
4.สิ่งต่างๆเหล่านี้บอกอะไรแก่เราบ้าง
ผลที่ได้รับจากการศึกษาเอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยคือได้ทราบ หลักการและความสำคัญ เป้าหมาย บทบาทการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ระดับปฐมวัย และแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งจะได้นำแนวทางนี้ไปจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ต่อไป


งานสรุปวิจัย

สรุปงานวิจัยเรื่อง : ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตรของเด็กปฐมวัยที่ไดรับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟงนิทาน

ผู้วิจัย : ศศิพรรณ สําแดงเดช

บทนำ
ความสำคัญและความเป็นมา
                วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกเพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตทุกคนทั้งในการดำรงชีวิตประจำวัน การอำนวยความสะดวกและในการทำงาน
                การจัดการศึกษาให้กับเด็กปฐมวัยที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็กให้ครบทั้ง  4 ด้าน คือด้านร่างกาย ด้านอารมณ์-จิตใจ ด้านสังคมและด้านสติปัญญา ยังไม่ได้มีการส่งเสริม
พัฒนาการของเด็กปฐมวัยให้ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร
การเรียนวิทยาศาสตร์เริ่มได้ตั้งแต่ระดับปฐมวัย เด็กปฐมวัยสามารถพัฒนาทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์จากการเล่นและทำงานตามที่เด็กสนใจ ได้ลงมือปฏิบัติจริงลองผิดลองถูกและเรียนรู้จากการค้นพบด้วยตนเอง    
เนื่องจากทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์นั้นสามารถสอดแทรกได้อยู่ในทุกกิจกรรม ในการส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยเกิดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์นั้นจึงมีหลายวิธี
จากปัญหาและความสำคัญของวิทยาศาสตร์และการจัดกิจกรรมการเล่านิทานดังกล่าวข้างต้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาว่าการจัดกิจกรรมการเล่านิทาน จะมีผลต่อการพัฒนาทักษะกระบวนการวิทยาศาสตร์หรือไม่อย่างไร
ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อเปรียบเทียบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง
2. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ก่อนและหลังการทดลอง
ความสําคัญของการวิจัย
                ผลของการศึกษาค้นควาครั้งนี้ จะเปนแนวทางใหกับครูและผูทเกี่ยวของกับการศึกษาปฐมวัยได้ตระหนัก และเขาใจถึงควาสําคัญในการสงเสริมทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยด้วยการทำกิจกรรมการทดลองหลังการฟงนิทาน รวมทั้งเป็นแนวทางในการทำกิจกรรมการทดลองหลังการฟงนิทานใหมีความหมายและเกิดประโยชน ตอการพัฒนาเด็กปฐมวัย
ขอบเขตของการศึกษาวิจัย
ตัวแปรที่ศึกษา
1. ตัวแปรต้น ได้แก่ การได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
             2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปี ที่กำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)สำนักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 5 ห้องเรียน จำนวน 175 คน สลากเลือกจำนวน 1 ห้องเรียน จากจำนวน 2 ห้องเรียน และผู้วิจัยสุ่มนักเรียนเข้ากลุ่มทดลองจำนวน 15 คน
                กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นเด็กปฐมวัย ชาย-หญิง อายุระหว่าง 5-6 ปีที่กำลังศึกษาอยู่ชั้นอนุบาลปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนวัดไทร (ถาวรพรหมานุกูล)สำนักงานเขตจอมทอง สังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 30 คน โดยผู้วิจัยทำการทดสอบเด็กด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เพื่อคัดเลือกเด็กปฐมวัยจำนวน 15 คน ที่มีคะแนนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ 15 อันดับสุดท้าย กำหนดเป็นกลุ่มทดลอง

วิธีดำเนินการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1. แผนการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน
2. แบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
การดำเนินการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551 ทำการทดลองเป็นเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที ทำการทดลองในช่วงเวลา    08.3009.00น. รวม 24 ครั้ง มีลำดับขั้นตอนดังนี้
1.ผู้วิจัยใช้คะแนนการทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัยในขั้นตอนการเลือกตัวอย่างเป็น คะแนนก่อนการทดลอง
2.ผู้วิจัยดำเนินการทดลองด้วยตนเองโดยทดลองสัปดาห์ละ 3 วันวันละ 30 นาที
ในช่วงเวลา 08.3009.00 น. ของวันจันทร์ วันอังคาร วันพุธ จนสิ้นสุดการทดลอง โดยระหว่างที่ผู้วิจัยดำเนินการทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างเด็กที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างอยู่ในความดูแลของครูผู้ช่วยสอน
3.เมื่อดำเนินการทดลองไปจนครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการ
ทดลองกับเด็กกลุ่มตัวอย่างด้วยแบบทดสอบทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ชุดเดียวกับก่อนการทดลอง
4.นำข้อมูลที่ได้จากการทดสอบไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. หาค่าสถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2.เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนการทดสอบวัดทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ก่อนและหลังการทดลอง โดยใช้สูตร t-test for Dependent Samples
3. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
              3.1 สถิติพื้นฐาน
              3.2 สถิติที่ใช้ในการหาคุณภาพของเครื่องมือ
              3.3 สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สูตร สูตร t-test for Dependent Samples
4. การแปลผลระดับความสามารถทางทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. สถิติพื้นฐาน
              1.1 คะแนนเฉลี่ย
              1.2 ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
2. สถิติทดสอบสมมติฐาน
เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย


สรุปผลการวิจัย
            1.  เด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานมีทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ อย่างมีนัยสำคัญที่ .01 และพบว่าทักษะด้านการสังเกต การจำแนก และการสื่อสารสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญที่ .01
            2.  ก่อนการทดลองการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน โดยรวมและรายด้าน คือ ด้านการสังเกต ด้านการจำแนก และด้านการสื่อสาร อยู่ในระดับพอใช้ หลังการจัดกิจกรรมหลังการฟังนิทานโดยรวมอยู่ในระดับดีและรายด้านคือ ด้านการสังเกตอยู่ในระดับดีมาก ด้านการจำแนกและการสื่อสารอยู่ในระดับดี
ข้อเสนอแนะ
           ข้อเสนอแนะทั่วไป
           1. ในการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน กับเด็กจำนวนมาก ควรคำนึงถึงลักษณะของสื่อที่ใช้ประกอบในการทำกิจกรรม เช่น ถ้าใช้ภาพประกอบการเล่านิทาน ภาพจะต้องมีขนาดใหญ่พอที่เด็กจะสามารถมองเห็นได้ทุกคน กิจกรรมการทดลองสื่อต้องมีเพียงพอสำหรับเด็กนอกจากนี้ ในการจัดกิจกรรมกับเด็กจำนวนมาก โอกาสที่เด็กทุกคนจะได้ออกมาปฏิบัติกิจกรรมนั้นเป็นไปได้ยาก จึงควรมีการวางแผนการจัดกิจกรรมที่เหมาะสมกับจำนวนของเด็กด้วย
           2. นิทาน 1 เรื่อง สามารถส่งเสริมให้เด็กเกิดทักษะวิทยาศาสตร์ที่ต้องการได้หลายทักษะซึ่งขึ้นอยู่กับความสามารถของครูผู้สอนในการที่จะดัดแปลงนิทานให้เหมาะสมกับจุดประสงค์ที่ต้องการ
            3. การจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทาน ควรคำนึงถึงระยะเวลาในการจัดกิจกรรมต้องมีความเหมาะสมกับวัยของเด็ก ครูต้องคำนึงถึงความสมดุลของช่วงเวลาที่ใช้ในการเล่านิทานและเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติการทดลองด้วย เช่น ในเด็กอายุ 56 ปี เวลาในการจัดกิจกรรมไม่ควรเกิน 15 นาทีถ้าใช้เวลาในการเล่านิทานนาน เวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมการทดลองจะต้องสั้นลง เป็นต้น
            4. การกำหนดคำถามในการเล่านิทานแต่ละเรื่อง นอกจากจะมุ่งให้เด็กเกิดมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์แล้ว สิ่งที่ต้องคำนึงถึงอีกประการหนึ่งคือ การถามคำถามจะต้องไม่ทำลายอรรถรสของการฟังนิทาน ครูอาจตั้งคำถามไว้หลายคำถาม แต่อาจไม่ได้ใช้ทุกคำถาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสนใจและปฏิกิริยาของเด็กในขณะฟังนิทาน
             ข้อเสนอแนะในการทำการวิจัย
            1. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบระหว่างผลการจัดกิจกรรมการทดลองหลังการฟังกับการจัดกิจกรรมในรูปแบบอื่นที่มีผลต่อทักษะพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย เพื่อนำผลที่ได้มาเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะวิทยาศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัย
             2. ควรมีการศึกษาในลักษณะเดียวกันกับการสร้างกิจกรรมการทดลองหลังการฟังนิทานสำหรับการพัฒนาทักษะพื้นฐานด้านอื่นๆ ให้กับเด็กปฐมวัย เช่น ทักษะทางภาษา การคิดเชิงเหตุผลการคิดแก้ปัญหา เป็นต้น
              3. ควรมีการศึกษาเปรียบเทียบการสร้างนิทานแบบมีจุดประสงค์ โดยเด็กเป็นผู้แต่ง เพื่อศึกษาพัฒนาทักษะเชิงบูรณาการ เช่น ภาษาสังคมกับวิทยาศาสตร์ ภาษากับวิทยาศาสตร์ เป็นต้น


วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียนชดเชย ครั้งที่ 2

Week 2:Sunday, 29 September 2556

Teaching and learning activities. (กิจกรรมการเรียนการสอน)

การนำเสนอสื่อทั้ง 3 ชิ้น


ชิ้นที่ 1 สื่อการทดลอง
ขวดประหลาด

อุปกรณ์
   1. กรรไกร 1 อัน
   2. เหยือกน้ำ  1 ใบ
   3. อ่างก้นลึก 1 ใบ
   4. ขวดพลาสติกมีฝาปิด
วิธีการทดลอง
   1. ใช้กรรไกรเจาะรูที่ฐานขวดพลาสติกหลาย ๆ รู  ดังภาพที่ 1  (ระวังกรรไกรบาดมือ)
  2. วางขวดพลาสติกลงในอ่างก้นลึก รินน้ำลงไปในขวดพลาสติกอย่างรวดเร็ว ประมาณครึ่งขวด  แล้วรีบปิดฝาขวดให้แน่น ก่อนที่น้ำจะไหลออก ดังภาพที่ 2
   3. ทดลองยกขวดขึ้นจากอ่าง  ดังภาพที่ 3  สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น น้ำไหลออกมาจากขวดหรือไม่

   4. หลังจากยกขวดขึ้นจากอ่างแล้ว ให้ค่อย ๆ บิดฝาคลายเกลียวออก   สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น


                      
                       



ชิ้นที่ 2 สื่อเข้ามุม
กระจกเงากับภาพสะท้อน
อุปกรณ์
            1.  กระจกเงา 2 บาน
2. ยางลบหรือตุ๊กตาตัวเล็ก ๆ ที่ตั้งได้  1ชิ้น
3. กระดาษรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส 1 แผ่น
วิธีทำ
1. พับกระดาษเพื่อให้เกิดรอยพับ
2. นำกระจกเงาเงาสองบานมาวางบนกระดาษตามแนวพับ ทำมุมหันหน้าเข้าหากัน
3. วางก้อนตุ๊กตาหรือก้อนยางลบด้านหน้า ระหว่างกระจกเงาทั้งสองบาน
4. ลองปรับมุมของบานกระจกทั้งสองให้แคบหรือเล็กลง  สังเกตจำนวนภาพของก้อนยางลบที่อยู่ในกระจกเงา
   

           

1                                                               2

   
                                                 3                                                              4




ชิ้นที่ 3 สื่อของเล่นวิทยาศาสตร์
ปะทัดกระดาษ
อุปกรณ์ที่ใช้
             กระดาษขนาด A4 ( ขนาด 29.7 x 21.0 เซนติเมตร ) หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ก็ได้
วิธีการทดลอง
             1.  พับกระดาษตามขั้นตอน ดังรูป


               2.  ในขณะกำลังพับกระดาษ พยายามทำให้ขอบกระดาษเรียบแนบสนิทกัน
               3.  จับปลายกระดาษตรงบริเวณด้านล่างสุดของวิธีการพับ ด้วยปลายนิ้ว ดังรูป


                 4.  เหวี่ยงกระดาษอย่างแรง โดยไม่ปล่อยมือ จนทำให้ได้ยินเสียงดังคล้ายประทัด

บันทึกการเข้าเรียนชดเชยครั้งที่ 1

Week 1:Sunday, 15 September 2556
Teaching and learning activities. (กิจกรรมการเรียนการสอน)

อาจารย์ได้ให้คำแนะนำในการปรับปรุงแก้ไข blogger ของนักศึกษาแต่ละคน
อาจารย์ให้นักศึกษา ทำกิจกรรมกลุ่ม  "เขียนแผนการสอนวิทยาศาสตร์ในการทำอาหารสำหรับเด็ก"
- อาจารย์ให้นักศึกษาเดินมาหยิบกระดาษชาร์ตกลุ่มละ 4แผ่น และสีเมจิกลุ่มละ 4 อัน
- อาจารย์บอกว่าวันนี้เราจะมาเรียนในเรื่องการทำอาหารที่เหมาะสำหรับเด็ก
- อาจารย์และนักศึกษาได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นว่าอาหารอะไรที่เหมาะสำหรับเด็ก บ้างให้เขียนลงในกระดาษ      ชาร์ตที่อาจารย์ได้แจก และให้นักศึกษาแตกแมทออกไป


ผลงานเพื่อนๆของเเต่ละกลุ่ม

ความรู้ที่ได้รับ
          1.  การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ในสิ่งที่เด็กอยากรู้
          2.  ได้รับฟังและแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนกลุ่มอื่นๆ
การนำไปประยุกต์ใช้
          1.  การจัดประสบการณ์การทำอาหารให้กับเด็กปฐมวัย
          2.  การเขียนแผนการจัดประสบการณ์ไว้ล่วงหน้าก่อนการสอนจะเป็นผลดีแก่ครูและนักเรียน

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่16

Week 16: Wednesday, 25September 2556

Teaching and learning activities. (กิจกรรมการเรียนการสอน)



วันนี้อาจารย์ให้สรุปความคิดรวบยอดโดยการสรุปต้องสรุปออกมาเป็น My mapping



บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่15

Week 15: Wednesday, 18 September 2556
Teaching and learning activities. (กิจกรรมการเรียนการสอน)

วัสดุ
               ไข่ไก่      ผงปรุงรส    แครอท   มะเขือเทศ    ซีอิ๊วขาว     เนื้อไก่หรือเนื้อหมู     เห็ดหอม      ผักชี            น้ำเปล่า
อุปกรณ์    
              มีด      เขียง     ถ้วย    หม้อนึ่ง    ช้อน    ที่ตีไข่
วิธีทําไข่ตุ๋นมีดังนี้
      1. ตอกไข่ใส่ชาม ตีไข่โดยใช้ตะเกียบคนจากซ้ายไปขวา หรือ บนลงล่างเท่านั้น
      2. เติมอุซึคุจิโชยุ หรือ ซีอิ๊วขาวลงไป สีของไข่จะออกคล้ำขึ้นเล็กน้อย
      3. ใส่ผงปรุงรสที่ละลายน้ำแล้วลงไปคนให้เข้ากัน
      4. ขั้นตอนสำคัญ คือต้องกรองไข่ที่ตีแล้วด้วยกระชอนตาถี่ หรือผ้าขาวบางก็ได้ลงในกะมังอีกใบหนึ่งเศษไข่ขาวที่ติดในกระชอนทิ้งไปได้เลย
      5. เปิดแก็ส ตั้งลังนึ่ง ใส่น้ำ และเปิดไฟแรงจัด
      6. แบ่งเครื่องปรุงต่างๆ พวกเนื้อไก่, เห็ดหอม, แปะก๊วย,เนื้อปลา,ลูกชิ้นปลา,ผักชี ใส่ถ้วยทั้ง 4ถ้วยให้เรียบร้อย
      7. เอาไข่ที่เราเตรียมไว้แล้วแบ่งใส่ถ้วยให้เท่าๆกัน ปิดด้วยฟอยล์เพื่อป้องกันไม่ให้น้ำหยดลงบนไข่ตุ๋น
      8. เมื่อน้ำที่เราตั้งไว้เดือดเรียบร้อยแล้วให้หรี่ไฟให้อ่อนที่สุด แล้วนำไข่ตุ๋นที่ใส่ถ้วยเตรียมไว้ไปใส่ในลังนึ่งนึ่งไปสักประมาณ 15 นาทีก็เป็นอันเสร็จพิธี ก็จะได้ไข่ตุ๋นโอชินที่มีเนื้อเนียนน่ารับประทาน

ข้อควรระวัง: อย่าใช้ช้อนส้อมคนไข่มากเกินไปจนเกิดฟอง, อย่าลืมกรองไข่ก่อนนำไข่ไปตุ๋น และ อย่าเปิดไฟแรงเกินไป มิฉะนั้นไข่ตุ๋นจะหน้าไม่เนียน



อาจารย์อธิบายวิธีการทำไข่ตุ๋น