ยินดีต้อนรับ

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 7

Week 7 : Wednesday, 24 July 2556

Teaching and learning activities. (กิจกรรมการเรียนการสอน)


สรุปผังความคิดกระบวนการวิทยาศาสตร์




ดูโทรทัศน์ครู  เรื่อง  Project  Approach  การสอนแบบโครงการปฐมวัย
Project Approach  คือ  การศึกษาในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง อย่างลุ่มลึก

5 ลักษณะของ Project  Approach
         ลักษณะที่ 1.  การอภิปราย
         ลักษณะที่ 2.  การนำเสนอประสบการณ์เดิม
         ลักษณะที่ 3.  การทำงานภาคสนาม   (ศึกษาจากแหล่งข้อมูลจริง)
         ลักษณะที่ 4.  การสืบค้น
         ลักษณะที่ 5.  การจัดแสดง  
    
ศึกษากระบวนการทางวิทยาศาตร์เพิ่มเติมจาก Power Point 






วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 6

Week 6 : Wednesday, 17 July 2556
Teaching and learning activities. (กิจกรรมการเรียนการสอน)
การทดลอง: ขวดประหลาด

อุปกรณ์
1. กรรไกร 1 อัน
2. เหยือกน้ำ  1 ใบ
3. อ่างก้นลึก 1 ใบ
4. ขวดพลาสติกมีฝาปิด



วิธีการทดลอง
1. ใช้กรรไกรเจาะรูที่ฐานขวดพลาสติกหลาย ๆ รู  ดังภาพที่ 1  (ระวังกรรไกรบาดมือ)
2. วางขวดพลาสติกลงในอ่างก้นลึก รินน้ำลงไปในขวดพลาสติกอย่างรวดเร็ว ประมาณครึ่งขวด  แล้วรีบปิดฝาขวดให้แน่น ก่อนที่น้ำจะไหลออก ดังภาพที่ 2
3. ทดลองยกขวดขึ้นจากอ่าง  ดังภาพที่ 3  สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น น้ำไหลออกมาจากขวดหรือไม่
4. หลังจากยกขวดขึ้นจากอ่างแล้ว ให้ค่อย ๆ บิดฝาคลายเกลียวออก   สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น

                                         

                                    







ผลการทดลอง

           พบว่า เมื่อเราปิดฝาขวดแน่น ๆ น้ำจะไม่ไหลออกมาหรือไหลน้อยมาก  เนื่องจากบริเวณรอบ ๆ ขวดมีอากาศอยู่ รวมถึงบริเวณใต้ขวดพลาสติกด้วย อากาศที่อยู่ใต้ขวดจะดันน้ำไว้ไม่ให้ไหลออกมา แต่เมื่อเปิดฝาขวด อากาศสามารถเข้าไปในขวดได้ และจะดันน้ำให้ไหลพุ่งออกมาจากรูอย่างรวดเร็ว ในขณะที่น้ำยังไหลออกไม่หมด การที่ทำให้ขวดพลาสติกมีช่องให้อากาศเข้าและออก ทำให้อากาศสามารถดันของเหลวที่อยู่ในขวดให้ไหลออกมาได้ดีขึ้น 
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทดลอง
        สามารถนำหลักการนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเจาะกระป๋องนมข้น หากเจาะรูที่กระป๋องเพียงรูเดียว นมจะไหลออกมายากมากหรืออาจจะไม่ไหลออกมาเลย แต่ถ้าเจาะ 2 รู  นมจะไหลได้ดีขึ้น 



ของเล่นวิทยาศาสตร์
"ปะทัดกระดาษ"

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองกระดาษขนาด A4 ( ขนาด 29.7 x 21.0 เซนติเมตร ) หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ก็ได้

วิธีการทดลอง
1.  พับกระดาษตามขั้นตอน ดังรูป



2.  ในขณะกำลังพับกระดาษ พยายามทำให้ขอบกระดาษเรียบแนบสนิทกัน
3.  จับปลายกระดาษตรงบริเวณด้านล่างสุดของวิธีการพับ ด้วยปลายนิ้ว ดังรูป


4.  เหวี่ยงกระดาษอย่างแรง โดยไม่ปล่อยมือ จนทำให้ได้ยินเสียงดังคล้ายประทัด


 
หลักการและเหตุผล
          เนื่องจากเสียงในธรรมชาติเกิดจากการสั่นของวัตถุ การเหวี่ยงประทัดกระดาษทำให้เกิดเสียงดังขึ้นได้เพราะว่าการสั่นของกระดาษส่วนหนึ่งที่โผล่ออกมาทันทีขณะที่เรากำลังเหวี่ยงนั้นกระดาษส่วนนี้ได้ไปกระทบกับอากาศอย่างแรงทำให้อากาศมีการสั่น และการสั่นของอากาศนี้เองที่ทำให้หูและส่วนประกอบภายในหูเกิดการได้ยินเสียง
           องค์ประกอบของการได้ยินเสียงในธรรมชาติ มี 3 ส่วนด้วยกัน คือ ต้นกำเนิดเสียง ( ในที่นี้ คือ กระดาษส่วนที่กระทบอากาศอย่างแรง ) , ตัวกลาง ( ในที่นี้ คือ อากาศ ) และประสาทรับเสียง ( ในที่นี้ คือ หูและส่วนประกอบภายในหู )
         ในกรณีเดียวกัน การที่เราได้ยินเสียงประทัดที่จุดขึ้นในงานประเพณีมีเสียงดังได้นั้น เนื่องจากประทัดระเบิด ทำให้อากาศโดยรอบสั่นอย่างรุนแรง เราจึงได้ยินเสียง

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 5


Week 5 : Wednesday, 10 July 2556
Teaching and learning activities. (กิจกรรมการเรียนการสอน)
ความรู้ที่ได้รับ
    อาจารย์ให้นักศึกษาออกมานำเสนอ สื่อวิทยาสาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยของตนเอง ดิฉันนำเสนอสื่อ   วิทยาสาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย


สื่อเข้ามุม
กระจกเงากับภาพสะท้อน
อุปกรณ์
            1.  กระจกเงา 2 บาน
2. ยางลบหรือตุ๊กตาตัวเล็ก ๆ ที่ตั้งได้  1ชิ้น
3. กระดาษรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส แผ่น
วิธีทำ
            1. พับกระดาษเพื่อให้เกิดรอยพับ

                                                    

            2. นำกระจกเงาเงาสองบานมาวางบนกระดาษตามแนวพับ ทำมุมหันหน้าเข้าหากัน

                                                   

            3. วางก้อนตุ๊กตาหรือก้อนยางลบด้านหน้า ระหว่างกระจกเงาทั้งสองบาน

                                                         

            4. ลองปรับมุมของบานกระจกทั้งสองให้แคบหรือเล็กลง  สังเกตจำนวนภาพของก้อนยางลบที่อยู่ในกระจกเงา

                                                        

หลักการและเหตุผล
           การทดลองนี้ให้ ใช้กระจกเงาบานเล็ก ๆ จำนวนสองบาน ประเภทที่มีกรอบพลาสติกหุ้ม ไม่ควรเลือกขนาดของกระจกเงาที่เล็กเกินไป เพราะจะทำให้สังเกตภาพที่เกิดขึ้นในกระจกเงาได้ยาก และไม่ควรใช้กระจกเงาเปล่า ๆ ที่ไม่มีขอบพลาสติกหุ้ม จะทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย เพราะถ้ากระจกเงาแตกจะบาดมือได้
                                           
                                             




ดิฉันออกมานำเสนองานหน้าชั้นเรียน

 


 
ใบไม้ สิ่งที่อาจาย์ได้ให้นักศึกษาเตรียมมา

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 4


Week 4 : Wednesday, 3 July 2556.
Teaching and learning activities. (กิจกรรมการเรียนการสอน)
ความรู้ที่ได้รับ
           อาจารย์ให้ดูสื่อการสอนที่อาจารย์นำมา(ของเล่น)
สังเกตให้ดีนะว่าข้างในมันคืออะไร?
อาจารย์ถามว่าได้เห็นอะไรในสิ่งประดิษฐ์ที่อาจารย์นำมาให้ดู
    จากการสังเกตพบการเปลี่ยนแปลง ดังนี้
            1.มองลงไปจะเห็นเป็นสีดำ
           2.จะมีเสียงออกมาจากกล่อง
           3.มองไปในสุดมีด ต้นทางจะมีแสง
           4.มองในแนวเฉียงจะมีลูกปิงปองไหลลงมา
***หมายเหตุ  ต้องเอียงของเล่นชิ้นนี้เพื่อจะให้ลูกปิงปองไหลลงมา ของเล่นสิ่งนี้จะมองได้จากคุณสมบัติของแสงเพราะแสงเมื่อกระทบกับวัตถุ จะทำให้เรามองเห็นมันสิ่งของที่อยู่ในนั้นมันคือการเปลี่ยนแปลงและความแตกต่าง รวมเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่เกิดขึ้น
                อาจารย์แจกกระดาษให้นักศึกษา คนละ2 แผ่น ให้ตัดเป็น8ช่องและเย็บเล่มเป็นสมุดพอเสร็จแล้ว อาจารย์ให้นักศึกษาทุกคนวาดอะไรก็ได้ในหน้ากระดาษแผ่น  แผ่นต่อมาก็วาดเพิ่มเติมไปทีอย่างละ1อย่าง จนคบ8 น่า พอเสร็จแล้วอาจารย์ให้เปิดกระดาษเร็วๆ เพื่อเห็นความเปลี่ยนแปลงจากรูปที่นักศึกษาแต่ละคนได้วาด ว่าภาพมีการเปลี่ยนแปลงออย่างไรจากที่เราเปิดกระดาษเร็วๆๆ
ดิฉันได้วาดภาพต้นมะพร้าว

อาจารย์ได้พูดถึงแนวคิดทางวิทยาศาสตร์
         1. การเปลี่ยนแปลง
         2. การแตกต่าง (ทางธรรมชาติ)  
         3.การปรับตัว
         4.การพึงพาอาศัยกัน
         5.ความสมดุล 
อาจารย์ให้นักศึกษาดู CD     เรื่อง วิทยาศาสตร์แสนสนุก  ตอน มหัศจรรย์ของน้ำ
ประโยชน์เเละองค์ความรู้ที่ได้รับจากการดู CD จากเรื่องนี้
น้ำเป็นส่วนประกอบหลักของร่างกายมนุษย์มากถึง 70% ส่วนในสัตว์และผลไม้มีน้ำอยู่ 90%  หากร่างกายขาดน้ำเกิน 3 วันอาจจะเป็นอันตรายได้ แต่อูฐในทะเลทรายจะสามารถอยู่ได้นานครั้งละ 10 วัน  มนุษย์ขาดน้ำได้ไม่เกิน 3วัน
น้ำมีอยู่ 3 สถานะ
                        -ของแข็ง     ได้แก่        น้ำแข็ง
                        -ของเหลว    ได้แก่        น้ำที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน
                        -ก๊าส            ได้แก่        ไอน้ำ
             น้ำแข็งเป็นของเหลวจากของเหลวกลายเป็นไอน้ำ เมื่อไอน้ำรวมกับของเย็นในอากาศจะกลายเป็นของเหลว
การทดลอง
            -น้ำระเหยเมื่อได้รับความร้อน  (การระเหย)
            -น้ำเกลือจะมีความหนาแน่นกว่าน้ำธรรมดา  (แรงโน้มถ่วง)
            -น้ำเกลือสามารถดูดความร้อนทำให้อากาศในยริเวณนั้นลดลง  (การดูดซึม)
            -การกดดันของน้ำบริเวณผิวน้ำจะมีแรงกดดันน้อยกว่าใต้น้ำ ยิ่งลึกยิ่งมีความกดดันมา(ความดันน้ำ)
           -เมื่อผิวของน้ำโดนอากาศจะมีแรงตึงมาก   (แรงตึงผิว)
ฝนเกิดจากอนุภาคของไอน้ำขนาดต่างๆในก้อนเมฆเมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้นจนไม่สามารถลอยตัวอยู่ในก้อนเมฆได้ก็จะตกลงมาเป็นฝน 
งานที่ได้รับมอบหมาย
            -Link แนวทางการจัดการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ปฐมวัยตามหลักสูตร ปี 2546
            -หาของเล่นที่ทำจากวัสดุเหลือใช้ แล้วเขียนวิธีการทำมาส่ง
           -หาใบไม้แห้งมา 1 ใบ

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 3

Week 3 : Wednesday, 26 June 2556.             
  Teaching and learning activities. (กิจกรรมการเรียนการสอน)
ความรู้ที่ได้รับ
      อาจารย์ให้นักศึกษาดู VCD   เรื่อง..... ความลับของแสง  และสรุปองค์ความรู้หลักๆ

  ความลับของแสง
         แสงเกิดจากการสะท้อน ของสิ่งต่างๆๆ  รอบตัวเรา แสงส่งผ่านมาเป็นเส้นตรงอย่างเดียวโดยไม่มีการเปลี่ยนทิศทาง


การทดลอง  
     การมองเห็นของเเสง  (แสงลอดผ่าน)
เจาะรูที่กล่องกระดาษ  และเอาวัตถุใส่ไปในกล่อง แล้วปิดฝา   มองเข้าไปในกล่อง
ผลที่ได้    เราไม่สามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ในกล่องได้  เนื่องจากแสงไม่สามารถผ่านเข้ามาได้ เกิดจากการปิดฝากล่อง
            กระทำแบบเดิม แต่เปิดฝากล่องออก  มองเข้าไปในกล่อง
            ผลที่ได้     เรามามารถมองเห็นวัตถุที่อยู่ในกล่องได้  เนื่องจากแสงได้ช่วยในการมองเห็น
วัตถุที่แสงผ่านได้  คือ  วัตถุโปร่งแสง และวัตถุไม่โปร่งแสง เช่น ไม้ หิน เหล็ก
            -วัตถุโปร่งแสง   แสงจะทะลุได้เป็นบางส่วนเท่านั้น เช่น กระจกมัวแสง
            -วัตถุโปร่งใส   วัตถุที่แสงผ่นไปได้ทั้งหมด  เช่น  กระจกใส พลาสติกใส  เป็นต้น
คุณสมบัติของแสง
           -การสะท้อนแสง     แสงจะสะท้อนไปในทางตรงกันข้ามกับทิศทางการส่องของต้นกำเนิดแสงลงมาเสมอ และมีประโยชน์ในการมองภาพ  เช่น การส่องกระจก  ภาพที่ออกมาจะเป็นทิศทางตรงกันข้ามกับตัวเองเสมอ
          -การหักเหของแสง        แสงเดินทางผ่านวัตถุ  เช่น แสงเดินทางผ่านน้ำ แสงจะเดินทางช้ากว่าอากาศทำให้การหักเหของแสงมีการหักเหเหนือแผ่นผิวน้ำ
         -เงา    เงาเกิดจากแสงที่ส่องลงมาแล้วเกิดการหักเห
         -แสงเดินทางเป็นเส้นตรง
         -การหักเหของแสง
         -การสะท้อนของแสง  
         -การกระจายของแสง
ประโยชน์ของแสง
         ประโยชน์ของแสงสามารถแบ่งได้เป็น 2 ทาง คือ ประโยชน์ทางตรง และประโยชน์ทางอ้อม
1. ประโยชน์จากแสงทางตรง   เช่น  การทำนาเกลือ  การทำอาหารตากแห้ง  การตากผ้า  การฆ่าเชื้อโรคในน้ำดื่ม ต้องอาศัยความร้อนจากแสงอาทิตย์  การแสดงหนังตะลุงและภาพยนตร์
ต้องใช้แสงเพื่อทำให้เกิดเงาบนจอ  การมองเห็นก็ถือเป็นการใช้ประโยชน์จากแสงทางตรง
2. ประโยชน์จากแสงทางอ้อม   เช่น ทำให้เกิดวัฏจักรของน้ำ  (การเกิดฝน)  พืชและสัตว์ที่เรารับประทาน ก็ได้รับการถ่ายทอดพลังงานมาจากแสงอาทิตย์ 

สามารถนำมาสรุปเป็นทางวิทยาศาสตร์  ได้ดังนี้


        

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 2



Week 2 : Wednesday, 19 June 2556.
Teaching and learning activities. (กิจกรรมการเรียนการสอน)
ความรู้ที่ได้รับ
                        อาจารย์อธิบายวิธีการส่งงาน คือ เขียนชื่อ  วันเวลาที่เรียน เลขที่ กลุ่มเรียน
ไว้มุมบนด้านขวาทุกครั้ง (วิทย์ปฐมวัย พุธเช้า กลุ่มเรียน 103)
                        อาจารย์อธิบายการสร้างบล็อกให้นักศึกษาฟังในรูปแบบ English
                        อาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มๆละ 6 คน เพื่อศึกษาวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยแล้วสรุปมาเป็นกลุ่มๆพร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนต่างกลุ่มแล้วนำมาเสนอหน้าชั้นเรียน ดังนี้
           กลุ่มที่  1  ความหมายของวิทยาสาสตร์
           กลุ่มที่  2  ความสำคัญของวิทยาศาสตร์
           กลุ่มที่  3  พัฒนาการทางสติปัญญาทางวิทยาศาสตร์
           กลุ่มที่  4  การเรียนรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์
           กลุ่มที่  5  แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์  (กลุ่มของดิฉันเอง)
           กลุ่มที่  6  กระบวนการทางวิทยาศาสตร์และผลผลิตทางวิทยาศาสตร์
สรุปความคิดของกลุ่มที่5





แนวคิดพื้นฐานทางวิทย์ศาสตร์
 เกรก ได้ให้แนวคิด 5 ประการ Graig”s Basic Concepts มีลักษณะรวมที่สำคัญ 5 ประการ คือ
            1. การเปลี่ยนแปลง ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น เด็กจึงแลเห็นและเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น เวลา น้ำหนักของเด็ก และสิ่งอื่นๆที่อยู่รอบตัว
2. ความแตกต่าง  ให้เด็กสังเกตสิ่งต่างๆรอบๆตัว
3. การปรับตัว ปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึงให้เด็กสังเกตถึงธรรมชาติที่อยู่รอบๆตัว เช่นจิ้งจกจะเปลี่ยนสีที่เกาะตามผนัง
4. การพึ่งพาอาศัยกัน ทุกสิ่งทุกอย่างต้องพึ่งพาอาศัยกัน เช่น คนกับเงิน นกเอี้ยงกับควาย
ครูจึงควรให้เด็กแลเห็นธรรมชาติเพื่อให้สามารถปรับตัวได้
5. ความสมดุล  ทุกสิ่งทุกอย่างต้องมีความสมดุลกัน เช่น ปลาอยู่ในน้ำ นกบินได้ เด็กควรมีความเข้าใจถึงธรรมชาติประเภทนี้ เพื่อให้ตนเองเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ สามารถรักษาสมดุลไว้ได้
แนวคิดพื้นฐานทั้ง 5 ประการนี้ จะช่วยให้ครูเข้าใจในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับธรรมชาติของวิชาและให้เด็กสามารถเรียนรู้ได้ตามธรรมชาติ ซึ่งตนเองจะเป็นสมาชิกอยู่

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 1


Week 1: Wednesday, 12 June 2556
Teaching and learning activities. ( กิจกรรมการเรียนการสอน )

ความรู้ที่ได้รับ           
        การปฐมนิเทศน์   ชี้แจงแนวการสอน(Course Syllabus)  เนื้อหาสาระที่ต้องศึกษาในรายวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
             อาจารย์เเละนักศึกษาร่วมสร้างข้อตกลงในการเรียนในรายวิชานี้
             อาจารย์ชี้แจงเรื่อง การสร้างบล็อกเพื่อเป็นแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนในรายวิชานี้ บล็อกต้องเป็นภาษอังกฤษเล็กน้อยควบคู่ไปกับภาษาไทย ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับภาษาเล็กน้อยเพื่อต้อนรับสู่ประชาคมอาเซียน


เครื่องมือในการเรียนรู้ของมนุษย์มี 2 อย่าง คือ
      1.ภาษา
      2.คณิตศาสตร์
มาตรฐาน  คือ
       1.คุณภาพ
       2.ตัวชี้วัด  (เกณฑ์)
       3.ผ่านการรับรอง
ความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้
        1.การออกแบบการเรียน การสอนเด็กปฐมวัยให้ถูกต้องและสมบูรณ์
        2.การทำแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกส์ให้ทันสมัยและน่าสนใจ