Week 12: Wednesday, 28
August 2556
Teaching and learning activities. (กิจกรรมการเรียนการสอน)
ศึกษาดูงาน วันที่ 27-28 สิงหาคม 2556
ณ สาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา และ
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จ.บุรีรัมย์
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
วัตถุประสงค์ ในการจัดตั้งโรงเรียนสาธิตฯ
๑. เพื่อเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติงานสำหรับนักศึกษา
๒.
เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัยและพัฒนาบุคลากรจากท้องถิ่น
๓. เพื่อเป็นสถานที่ศึกษา วิจัย
และทดลองทฤษฎีทางการศึกษาอันจะเป็นแนวทางในการพัฒนาการศึกษาในท้องถิ่น
๔. เพื่อเป็นโรงเรียนต้นแบบในการจัดการศึกษาระดับการศึกษาปฐมวัยและการศึกษาขั้นพื้นฐานสำหรับโรงเรียนในเขตพื้นที่และใกล้เคียง
๕.
เพื่อให้การอบรมสำหรับกุลบุตร
กุลธิดา
ที่จะศึกษาเล่าเรียนตามสติปัญญา ความสามารถ และความถนัด อันจะเป็นพื้นฐานการศึกษาต่อในระดับสูงต่อไป
๖.
เพื่อเป็นสวัสดิการแก่บุตรธิดาของข้าราชการ
พนักงาน บุคลากรของมหาวิทยาลัยและ
ผู้ทำคุณประโยชน์แก่โรงเรียนและมหาวิทยาลัย
คำขวัญของโรงเรียน
คำขวัญ
สุขภาพดี มีความรู้ คู่คุณธรรม
สีประจำโรงเรียน
สีเขียว – เหลือง เป็นสีประจำของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโรงเรียนโดยกำหนดมาจากสีของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
ปรัชญา
“ความรู้คู่คุณธรรม
นำไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์”
วิสัยทัศน์
มุ่งพัฒนาคุณภาพผู้เรียนโดยถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุด
จัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการผ่านกิจกรรมพัฒนาทักษะชีวิตทักษะกระบวนการคิดสร้างจิตสำนึกในการทำประโยชน์ต่อสังคม พึ่งตนเองได้ เป็นคนดีมีปัญญา มีความเป็นไทยคู่กับความเป็นสากล
และอยู่ร่วมในสังคมได้อย่างมีความสุข
พันธกิจ
๑.
ผลิตนักเรียนระดับปฐมวัยและระดับประถมศึกษาที่มีคุณภาพทั้งด้านร่างกาย
อารมณ์-จิตใจ สังคม และสติปัญญา
๒.
กำหนดหน่วยการเรียนรู้และแผนการเรียนรู้แบบบูรณาการ โดยใช้กิจกรรมที่หลากหลาย
มุ่งเน้นทักษะกระบวนการคิด การพัฒนาผู้เรียนเต็มตามศักยภาพ
๓.
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ เพิ่มพูนสติปัญญาในเชิงสร้างสรรค์
และส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมที่ดีงาม ให้เด็กเรียนรู้อย่างมีความสุข
๔.
จัดกิจกรรมเพื่อทำนุบำรุงศาสนาและศิลปวัฒนธรรม เพื่อปลูกฝังและส่งเสริมค่านิยมความเป็นไทยให้กับนักเรียน
๕.
พัฒนาโรงเรียนให้เป็นแหล่งศึกษาวิจัย เพื่อพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน
เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
๖.
จัดระบบมาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษาที่สร้างความมั่นใจ
และความพึงพอใจให้แก่ผู้ปกครอง ชุมชน และสังคม
๗. ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของบุคคล
ครอบครัว ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และองค์กรอื่นๆ
ภารกิจ
๑.
จัดกิจกรรมแบบบูรณาการที่ส่งเสริมการเรียนรู้ โดยเน้นทักษะกระบวนการ
เพื่อให้เด็กมีพัฒนาการครบทั้ง ๔ ด้าน คือ ด้านร่างกาย อารมณ์–จิตใจ
สังคม และสติปัญญา
๒.
จัดกิจกรรมที่ส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม ความเป็นไทย เพื่อปลูกฝังให้เด็กเป็นคนดี
๓.
จัดกิจกรรมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จินตนาการ
และการคิดแก้ปัญหา
๔.
จัดหาสื่ออุปกรณ์ที่เหมาะสมต่อพัฒนาการของเด็ก
๕.
พัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
๖.
ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างโรงเรียน บ้าน และชุมชน
แนวทางการจัดการเรียนรู้
จัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการคิดละกิจกรรมเป็นฐาน เป็นกิจกรรมแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
พัฒนาผู้เรียนด้านการคิดผ่านการเรียนรู้จากการลงมือทำกิจกรรม
ระดับชั้นเรียนที่เปิดสอน
ระดับการศึกษาปฐมวัย (อายุ
2-6)
- บริบาล 1-2 (2-4 ขวบ)
- อนุบาล 1-2 (4-6 ขวบ)
ระดับประถมศึกษา
(อายุย่างเข้าปีที่ 7)
- ประถมศึกษาปีที่ 1-6
กิจกรรมการเรียนการสอน
1.กิจกรรมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
บูรณาการผ่าน 6 กิจกรรมหลัก ได้แก่
กิจกรรมการเคลื่อนไหวและจังหวะ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ กิจกรรมสร้างสรรค์
กิจกรรมบทบาทสมมุติ กิจกรรมกลางแจ้ง และเกมการศึกษา
2.กิจกรรมเสริมหลักสูตรตามเทศกาลและวันสำคัญต่างๆ
3.กิจกรรมเสริมหลักสูตรภาคฤดูร้อน
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน
ได้แก่
กิจกรรมแนะแนว ชุมนุม กิจกรรมนักเรียน กิจกรรมเพื่อสังคมและสาธารณประโยชน์
กิจกรรมเสริมประสบการณ์
ได้แก่
ภาษาอังกฤษ คอมพิวเตอร์ ดนตรี-ดุริยางค์ และภาษาจีน
ปรัชญาของโรงเรียน
"การศึกษาพัฒนาความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
" ( Education for complete human development)
วิสัยทัศน์ของโรงเรียน
“ผู้เรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข
เต็มศักยภาพ เป็นคนดีและคนเก่ง สอดคล้องกับวิถีชีวิตและกลมกลืนกับวิทยาการสมัยใหม่
สู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ พร้อมด้วยคุณธรรม ภูมิปัญญา
และสำนึกในความเป็นพลเมืองดี
หลักสูตร
โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจัดการศึกษา
โดย PBL
(Problem based Learning) ซึ่งเป็นนวัตกรรมหนึ่งในการพัฒนาความฉลาดภายนอก(ความเข้าใจต่อโลกและปรากฏการณ์)ให้กับผู้เรียนของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา
เป็นหน่วยการเรียนแบบบูรณาการที่ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้จากปมปัญหาสู่ปัญญา
เพราะสังคมโลกนับวันจะยิ่งซับซ้อนขึ้น จำนวนปัญหาจะมากขึ้น ซับซ้อนขึ้น
ยุ่งเหยิงขึ้น. กระบวนการเรียนรู้โดย PBL จะทำให้ผู้เรียนไม่ตื่นกลัวกับปัญหา
มองปัญหาเป็นเรื่องท้าทายซึ่งจะนำไปสู่การสร้างความเข้าใจต่อปัญหา
และหาวิธีการแก้ปัญหา
กระบวนการทำความเข้าใจต่อปัญหา
และกระบวนการหาวิธีการหรือนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาผู้เรียนจะต้องใช้ความรู้อันหลากหลาย
และทักษะที่หลากหลาย ซึ่งจะทำให้ผู้เรียนเข้าถึงความเข้าใจหลักของเนื้อหาชุดนั้น
จนเกิดทักษะอันหลากหลายที่จำเป็นสำหรับศตวรรษใหม่ ได้แก่ -
ทักษะการเรียนรู้และการเรียนอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ทักษะการสังเคราะห์ข้อมูลและการจัดการความรู้ - ทักษะชีวิต(ทำกินเป็น อยู่ได้
ใช้เป็น) เช่น ทักษะ ICT
การทำงานร่วมกัน การจัดการความขัดแย้ง การสื่อสาร การคิดหลายระดับ
การสร้างปัจจัยการดำเนินชีวิต. การดูแลสุขภาพ. การแสวงหาข้อมูล. การปรับตัว
การออกแบบวิถีชีวิต. อุปนิสัย. การชี้นำตนเอง. จิตสำนึกต่อคนอื่น
วัฒนธรรมอื่นและต่อโลก
นวัตกรรม
จิตศึกษา
เป็นรูปแบบนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นในโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาหรือโรงเรียนนอกกะลา
ตั้งแต่ปีการศึกษา 2546
เพื่อให้เป็นแนวคิดและกระบวนการพัฒนาทั้งครูและเด็กให้เกิดการเรียนรู้และงอกงามด้านใน
หรือ ความฉลาดด้านจิตวิญญาณ ปัญญาภายใน หรือ
ความฉลาดด้านในหมายรวมถึงความฉลาดทางด้านจิตวิญญาณ SQ และความฉลาดทางด้านอารมณ์
EQ ซึ่งได้แก่ การรับรู้อารมณ์และความรู้สึกของตนเอง (รู้ตัว)
และผู้อื่น การเห็นคุณค่าในตัวเอง คนอื่น และสิ่งต่างๆ
เพื่อการดำเนินชีวิตอย่างมีเป้าหมายและมีความหมาย การอยู่ด้วยกันอย่างภราดรภาพ
ยอมรับในความแตกต่าง เคารพและให้เกียรติกัน การมีวินัย
มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม อยู่อย่างพอดีและพอใจได้ง่าย การมีสติอยู่เสมอ
รู้เท่าทันอารมณ์เพื่อให้รู้ว่าต้องหยุด หรือไปต่อกับ สิ่งที่กำลังเป็นอยู่
มีความสามารถจัดการอารมณ์ตนเองได้ การมีสัมมาสมาธิ
เพื่อกำกับความเพียรให้การเรียนรู้หรือการทำภาระงานให้ลุล่วง
มีความอดทนทั้งด้านร่างกายและจิตใจ การเห็นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างตนเองกับสิ่งต่างๆ
นอบน้อมต่อสรรพสิ่งที่เกื้อกูลกันอยู่ การมีจิตใหญ่มีความรักความเมตตามหาศาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น