ยินดีต้อนรับ

วันพุธที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเข้าเรียนครั้งที่ 6

Week 6 : Wednesday, 17 July 2556
Teaching and learning activities. (กิจกรรมการเรียนการสอน)
การทดลอง: ขวดประหลาด

อุปกรณ์
1. กรรไกร 1 อัน
2. เหยือกน้ำ  1 ใบ
3. อ่างก้นลึก 1 ใบ
4. ขวดพลาสติกมีฝาปิด



วิธีการทดลอง
1. ใช้กรรไกรเจาะรูที่ฐานขวดพลาสติกหลาย ๆ รู  ดังภาพที่ 1  (ระวังกรรไกรบาดมือ)
2. วางขวดพลาสติกลงในอ่างก้นลึก รินน้ำลงไปในขวดพลาสติกอย่างรวดเร็ว ประมาณครึ่งขวด  แล้วรีบปิดฝาขวดให้แน่น ก่อนที่น้ำจะไหลออก ดังภาพที่ 2
3. ทดลองยกขวดขึ้นจากอ่าง  ดังภาพที่ 3  สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น น้ำไหลออกมาจากขวดหรือไม่
4. หลังจากยกขวดขึ้นจากอ่างแล้ว ให้ค่อย ๆ บิดฝาคลายเกลียวออก   สังเกตสิ่งที่เกิดขึ้น

                                         

                                    







ผลการทดลอง

           พบว่า เมื่อเราปิดฝาขวดแน่น ๆ น้ำจะไม่ไหลออกมาหรือไหลน้อยมาก  เนื่องจากบริเวณรอบ ๆ ขวดมีอากาศอยู่ รวมถึงบริเวณใต้ขวดพลาสติกด้วย อากาศที่อยู่ใต้ขวดจะดันน้ำไว้ไม่ให้ไหลออกมา แต่เมื่อเปิดฝาขวด อากาศสามารถเข้าไปในขวดได้ และจะดันน้ำให้ไหลพุ่งออกมาจากรูอย่างรวดเร็ว ในขณะที่น้ำยังไหลออกไม่หมด การที่ทำให้ขวดพลาสติกมีช่องให้อากาศเข้าและออก ทำให้อากาศสามารถดันของเหลวที่อยู่ในขวดให้ไหลออกมาได้ดีขึ้น 
ประโยชน์ที่ได้รับจากการทดลอง
        สามารถนำหลักการนี้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การเจาะกระป๋องนมข้น หากเจาะรูที่กระป๋องเพียงรูเดียว นมจะไหลออกมายากมากหรืออาจจะไม่ไหลออกมาเลย แต่ถ้าเจาะ 2 รู  นมจะไหลได้ดีขึ้น 



ของเล่นวิทยาศาสตร์
"ปะทัดกระดาษ"

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลองกระดาษขนาด A4 ( ขนาด 29.7 x 21.0 เซนติเมตร ) หรือกระดาษหนังสือพิมพ์ก็ได้

วิธีการทดลอง
1.  พับกระดาษตามขั้นตอน ดังรูป



2.  ในขณะกำลังพับกระดาษ พยายามทำให้ขอบกระดาษเรียบแนบสนิทกัน
3.  จับปลายกระดาษตรงบริเวณด้านล่างสุดของวิธีการพับ ด้วยปลายนิ้ว ดังรูป


4.  เหวี่ยงกระดาษอย่างแรง โดยไม่ปล่อยมือ จนทำให้ได้ยินเสียงดังคล้ายประทัด


 
หลักการและเหตุผล
          เนื่องจากเสียงในธรรมชาติเกิดจากการสั่นของวัตถุ การเหวี่ยงประทัดกระดาษทำให้เกิดเสียงดังขึ้นได้เพราะว่าการสั่นของกระดาษส่วนหนึ่งที่โผล่ออกมาทันทีขณะที่เรากำลังเหวี่ยงนั้นกระดาษส่วนนี้ได้ไปกระทบกับอากาศอย่างแรงทำให้อากาศมีการสั่น และการสั่นของอากาศนี้เองที่ทำให้หูและส่วนประกอบภายในหูเกิดการได้ยินเสียง
           องค์ประกอบของการได้ยินเสียงในธรรมชาติ มี 3 ส่วนด้วยกัน คือ ต้นกำเนิดเสียง ( ในที่นี้ คือ กระดาษส่วนที่กระทบอากาศอย่างแรง ) , ตัวกลาง ( ในที่นี้ คือ อากาศ ) และประสาทรับเสียง ( ในที่นี้ คือ หูและส่วนประกอบภายในหู )
         ในกรณีเดียวกัน การที่เราได้ยินเสียงประทัดที่จุดขึ้นในงานประเพณีมีเสียงดังได้นั้น เนื่องจากประทัดระเบิด ทำให้อากาศโดยรอบสั่นอย่างรุนแรง เราจึงได้ยินเสียง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น